เมนู

ไม่ได้ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ
ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่อย่างนี้ เธอชื่อว่า
เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า
ไฉนหนอเราพึงเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก เข้าสู่
บริษัทได้ แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท ทรงวินัย อยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ใน
เสนาสนะอันสงัด ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
ซึ่งฌาน 4 อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน กระทำให้แจ้ง
ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล
ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล... กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองใน
ปัจจุบันเข้าถึงอยู่ เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ๆ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ก่อ
ให้เกิดความเลื่อมใสโดยรอบ และเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง.
จบสัทธาสูตรที่ 8

9. สันตสูตร


ว่าด้วยภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 10


ย่อมก่อให้เกิดความเลื่อมใสโดยรอบ


[9] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีล เป็นผู้มีศีล
แต่ไม่เป็นพหูสูต เป็นพหูสูต แต่ไม่เป็นธรรมกถึก เป็นธรรมกถึก แต่
ไม่เข้าสู่บริษัท เข้าสู่บริษัทได้ แต่ไม่แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท เป็นผู้

แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท แต่ไม่ทรงวินัย ทรงวินัย แต่ไม่อยู่ป่าเป็น
วัตร อยู่ในเสนาสนะอันสงัด อยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ในเสนาสนะอันสงัด แต่
ไม่ถูกต้องวิโมกข์อันสงบ ไม่มีรูป เพราะล่วงรูปเสียได้ ด้วยกายอยู่ ถูกต้อง
วิโมกข์อันสงบ ไม่มีรูป เพราะล่วงรูปเสียได้ ด้วยกายอยู่ แต่ไม่ทำให้
แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย
สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ อย่างนี้ เธอชื่อว่า
เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ ด้วยคิดว่า
ไฉนหนอ เราพึงเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล . . . กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันหาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา
อันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุเป็น
ผู้มีศรัทธา มีศีล . . . ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะ
มิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้า
ถึงอยู่ เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ก่อให้เกิดความ
เลื่อมใสโดยรอบ และเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง.
จบสันตสูตรที่ 9

อรรถถาสันตสูตรที่ 9


สันตสูตรที่ 9

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สนฺตา ได้แก่ สงบ เพราะมีอารมณ์สงบบ้าง เพราะมี
องค์สงบบ้าง ที่ได้ชื่ออย่างนี้ว่า วิโมกข์ ก็เพราะพ้นไปจากธรรมที่เป็น
ข้าศึก และเพราะเหตุหลุดพ้นด้วยดี โดยปราศจากสงสัยในอารมณ์. บทว่า